วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

FIBER OPTICS TO THE HOME (FTTH)

FIBER OPTICS TO THE HOME (FTTH)
Optics to the home (FTTH) คือเทคโนโลยีที่นำข้อมูล ข่าวสารต่างๆขนาดมหาศาลมาถึงบ้านผู้ใช้บริการ ด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีขนาดเล็กและเบาแต่สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วด้วยคุณภาพที่สูง แนวคิดด้าน Fiber Optics to the home (FTTH) มีการกล่าวถึงกันมานานแล้ว มีหลายบริษัทที่มีความพยายามนำแนวคิดนี้นำมาให้บริการแก่กลุ่มลูกค้ารายเล็กๆโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยที่เป็นโฮมยูสเซอร์ทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่มีการวางระบบเครือข่าย Fiber Optic เพื่อให้บริการในรูปแบบ FTTH เช่นบริษัท BellSouth มีการวางสายFiber เข้าไปที่เขต Dunwoody ใน Atlanta ประมาณ 400 หลัง.Futureway บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมของแคนนาดาเริ่มมีการสร้างระบบเชื่อมต่อ Fiber เข้าสู่ตามที่พักอาศัยแล้วในเมือง Toronto.ในด้านผู้ผลิตอุปกรณ์(Supplier)ในด้านนี้อย่าง Optical Solution มีอัตราการเติบโตที่ดีมียอดขายอุปกรณ์ด้าน Fiber เพิ่มมากขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนแนวโน้มและทิศทางที่ดีของการใช้งานด้าน Fiber Optics to the home แต่เมื่อมองดูความต้องการการใช้งานในตลาดจากผู้บริโภคปรากฏว่ามีการขยายตัวน้อยมาก เมื่อพิจารณาทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ไม่น่าจะมีอุปสรรคในด้านการให้บริการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Fiber Optic มีการใช้งานมานานแล้วอย่างแพร่หลายในด้านของระบบโครงข่ายดังนั้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการเติบโตของ FTTH น่าจะมาจากปัจจัยด้านอื่น ดังต่อไปนี้ • งบประมาณการลงทุนด้านการวางโครงข่าย Fiber Optics • ความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคที่แท้จริง • การแข่งขันกับรายเก่าในตลาด งบประมาณการลงทุนด้านการวางโครงข่าย Fiber Optics ที่ผ่านมามีหลายบริษัทและหลายประเทศที่มีการทดลองในการให้บริการด้าน FTTH เช่น ญี่ปุ่น แคนนาดา ฝรั่งเศส ซึ่งการทดลองสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ในการให้บริการนั้นต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมาก เนื่องจากราคาของ Fiber ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับราคาของสาย Copper ในปัจจุบัน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องงบประมาณด้านการลงทุนของ Fiber network. ประเด็นคือการใช้ Fiber Optic ในรูปแบบของ Fiber Optics to the business(FTTB) ที่ปัจจุปันมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ แต่ขนาดของตลาดก็ยังไม่ใหญ่พอที่จะทำให้ราคาของ Fiber Optic ลดลงมากนัก ดังนั้นในอนาคตการเติบโตของ Fiber Optics to the business(FTTB) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่

ISDN (Integrated Services Digital Network)

ISDN (Integrated Services Digital Network)
การส่งข้อมูลและอุปกรณ์พื้นฐาน ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์นำมาเปิดให้บริการกันเป็นจำนวนมาก (ในประเทศไทยยังอยู่ในวงจำกัด เฉพาะบางชุมสาย และจังหวัดใหญ่ หรือบริเวณที่เป็นแหล่งธุรกิจเท่านั้น : ผู้แปล) ISDN เป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่กำหนดโดย CCITT โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายดิจิตอลออกไปให้กว้างไกลทั่วโลก การเชื่อมต่อทุกขั้นตอนจากผู้ใช้บริการไปยังชุมสายผู้ให้บริการ สายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสาย และจากตู้ชุมสายไปถึงผู้รับใช้สัญญาณแบบดิจิตอลทั้งหมด จึงไม่มีความจำเป็นต้องแปลงรูปแบบสัญญาณไปมาอีกต่อไป ดังนั้นบริการของ ISDN จึงเป็นบริการในแบบดิจิตอลชนิดครบวงจรโดยแท้จริง นอกจากนี้บริการ ISDN ยังให้แบนด์วิดธ์ในการรับ/ส่งข้อมูลที่ดีกว่าระบบโรศัพท์แบบเก่าๆ และสามารถให้บริการข้อมูลเสียงหรือแม้แต่ข้อมูลรูปแบบอื่นๆ (เช่น คอมพิวเตอร์, เพลง และวิดีโอ) ไปพร้อมๆ กัน ข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของโปรโตคอล ISDN คือสามารถต่อติดได้รวดเร็วกว่า (ประมาณ 5-6 เท่า) หากเปรียบเทียบกับระบบโทรศัพท์ธรรมดา ISDN ประกอบไปด้วยโปรดตคอลที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ BRI (Basic Rate Interface) และ PRI (Primart Rate Interface) ซึ่งจะต้องเลือกไว้ก่อนที่จะติดตั้ง โปรโตคอล PRI พอจะนำไปเปรียบเทียบได้กับ T1 สำหรับโปรโตคอล BRI นั้นเป็นมาตรฐานที่ถูกนำไปใช้งานมากกว่า ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ช่องสัญญาณที่แยกจากกันคือ
ช่อง D (Data) ขนาด 16Kbps เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณควบคุมของระบบ ISDN และข้อมูลของสัญญาณ ช่อง B (Bearer) ขนาด 64 Kbps ซึ่งใช้ในการรับ/ส่งข้อมูลทั้งเสียงและข้อมูลอื่นๆ ช่อง B อีกหนึ่งช่องที่ขนาด 64 Kbps เพื่อใช้ในการรับ/ส่งทั้งเสียงและข้อมูลอื่นๆ บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ในแถบอเมริกาเหนือนั้นยังคงรองรับวิธีการเก่าๆ เพื่อสนับสนุนการใช้งาน ISDN อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ในบางครั้งการใช้ช่องสัญญาณ B สามารถทำงานได้ที่ความเร็วเพียง 56 Kbps แทนที่จะเป็น 64 Kbps เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้ในการบีบอัดข้อมูลบน ISDN เอง ดังนั้นข้อมูลทิ่วิ่งอยู่บนระบบ ISDN ในปัจจุบันจึงยังไม่กำหนดให้มีการบีบอัดแต่อย่างใด ช่อง B ทั้งสองช่องนั้นสามารถถูกนำไปใช้ในการส่งข้อมูล ทั้งที่เป็นเสียงหรือข้อมูลอื่นได้พร้อมๆ กัน หรืออาจจะนำไปใช้ในการส่งข้อมูลเดียวกันไปยังปลายทางคนละแห่งกันก็ได้ หรือแม้แต่จะรวมสองช่องสัญญาณเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการสื่อสารกับสถานที่เดียวกันเพื่อให้ได้แบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้น การดำเนินการดังกล่าวนี้เรียกว่า Inverse Multiplexing โดยกระบวนการนี้เป็นมาตรฐานที่ต่อยอดมาจากโปรโตคอล PPP (Point-to-Point Protocol) ที่เรียกว่า Mulltilink PPP (เรื่องของโปรโตคอล PPP จะมีการกล่าวถึงใน บทที่ 3 )อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเด็ม ISDN) ที่สนับสนุนการทำงานในลักษณะนี้มีไม่มากนัก ผู้ผลิตโมเด็ม ISDN หลายรายต่างใช้วิธีการที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองในการทำ Inverse Multiplexing ซึ่งก็ส่งผลให้การใช้ Terminal Adapter (ก็คือ โมเด็มแบบ ISDN นั่นเอง แท้จริงแล้วควรเรียกว่า TA น่าจะเป็นชื่อที่ถูฏต้องมากกว่า เพราะระบบ ISDN นั้นไม่ต้องทำกระบวนการ Modulate/Demodulate อีก : ผู้แปล) เพื่อให้เกิดการสื่อสารทั้งสองฝั่งต้องใช้โมเด็มของบริษัทเดียวกัน การให้บริการ ISDN นั้นเปิดให้บริการเป็นบางพื้นที่ ระบบ ISDN ยังคงอาศัยสายทองแดงที่ใช้กับโทรศัพท์ทั่วไป เจ้าหน้าที่ของโทรศัพท์จะต้องมาตรวจสอบคุณภาพสายก่อนการติดตั้ง หากพบว่าคุณภาพใช้ได ้ก็จะนำอุปกรณ์มาติดยังจุดของผู้ใช้บริการและที่ชุมสายโทรศัพท์ ทั้งนี้มีช้อที่น่าสังเกตคืออุปกรณ์ที่ติดตั้ง ต้องมีการป้อนทั้งสัญญาณและพลังงานไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งหากมีปัญหาทงด้านระบบไฟฟ้าก็จะไม่สามารถใช้งานบริการ ISDN ได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงหรือข้อมูล ผู้ใช้บริการจะไม่สามารถติดต่อได้หากไม่มีระบบโทรศัพท์แบบเก่ารองรับเหตุการณ์ที่เกิดนี้


ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์เปิดให้บริการISDN อยู่ 2 ประเภท คือ
1. บริการแบบ BAI (Basic Access Interface = 2B+D) บริการแบบนี้ ทศท. จะให้บริการโดยเดินสายตรงด้วยคู่สายทองแดงปกติ (สายทองแดง 2 เส้นเหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์ระบบธรรมดา)ไปยังผู้ใช้บริการ โดยใน 1 คู่สาย BAI นี้ ผู้ใช้บริการสามารถเดิน สายภายในเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายเดียวกันได้สูงสุดถึง 8 อุปกรณ์ และสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN เดียว กันได้พร้อมกัน 2 เครื่องในเวลาเดียวกัน ที่ความเร็วเครื่องละ 64 Kbps โดยอาศัยช่องสัญญาณ B ที่มีอยู่ในคู่สาย ISDN 2 ช่อง สัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ตัวอย่างเช่น ในคู่สาย ISDN เดียวกันมีการติดตั้งโทรศัพท์ไว้ 2 เครื่อง เครื่องที่ 1 โทร ออกไปปลายทางที่เชียงใหม่เครื่องที่ 2 สามารถโทรออกหรือรับสายที่เรียกเข้ามาจากเครื่องปลายทางที่อยู่ที่หาดใหญ่ได้ เป็นต้น บริการ BAI นี้เหมาะสำหรับผู้ใช้บริการตามบ้านพักอาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางขนาดใหญ่ สถาบันองค์กรหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ต้องการจำนวนอุปกรณ์สื่อสารที่ติดต่อกับบุคคลภายนอกจำนวนไม่มากนัก
2. บริการแบบ PRI(Primary Rate Interface = 30 B+D) บริการแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่สถาบันองค์กรหน่วยงาน ราชการรัฐวิสาหกิจที่ต้องการช่องสัญญาณสื่อสารจำนวนมาก ทศท. จะให้บริการโดยเดินคู่สายความเร็วระดับ 2.048 Mbps ให้แก่ ผู้ใช้บริการ โดยลักษณะของคู่สาย PRI ที่ ทศท. จะนำมาให้ บริการแก่ผู้ใช้บริการจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้คือ
2.1สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ในขณะนี้ ทศท.มีการสร้างข่ายสายใยแก้วนำแสงตามย่านธุรกิจต่างๆ หลายเส้นทาง ลูกค้ารายใดที่ขอใช้บริการ PRI และอยู่ในแนว เส้นทางสายไฟเบอร์ออพติดของทศท. ที่สร้างไว้ ก็มี โอกาสที่ได้ใช้บริการ PRI ที่เป็นสายไฟเบอร์ออพติดได้ หรือ2.2สายทองแดง(Copper Cable) ในกรณีที่ลูกค้าที่ขอใช้บริการ PRI แต่ไม่อยู่ในแนวเส้นทางสายไฟเบอร์ออพติคของ ทศท. ที่สร้างไว้ ทศท. ก็จะให้บริการเป็นแบบสายทองแดงแทน โดยจะเชื่อมต่อกับลูกค้าโดยมาต่อผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ เรียกว่าอุปกรณ์ HDSL แล้วนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของลูกค้าที่รองรับคู่สาย PRI ได้ ลูกค้าก็ยังสามารถได้ใช้บริการ สื่อสารความเร็วสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เหมือนกับลูกค้าที่ได้ใช้บริการ PRI แบบสายไฟเบอร์ออพติค
คู่สาย PRI ที่ลูกค้าใช้บริการอยู่นี้จะมีช่องสัญญาณ B ถึง 30 ช่องสัญญาณ ที่ความเร็วช่องสัญญาณละ 64 Kbps แต่ละช่องสัญญาณ เป็นอิสระต่อกันผู้ใช้บริการสามารถนำคู่สาย PRI มาต่อเข้าตู้สาขาอัตโนมัติ(ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการทำให้อุปกรณ์สื่อสารที่ติด ตั้งหลังตู้สาขาสามารถติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ 30 เครื่องพร้อมกันหรือนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Remote Access Server (ใน กรณีผู้ใช้บริการเป็น InternetService Provider หรือองค์กรหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องการรองรับการ Access จาก User ทางไกล เป็นจำนวนมาก) รองรับการ Access จาก User ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้พร้อมกันถึง 30 Users ที่ความเร็ว 64 Kbps หรืออาจจะ นำมาเชื่อมต่อเข้ากับ Router ความเร็วสูง2.048 Mbps เพื่อเชื่อมการติดต่อระหว่าง Netwok ที่เชื่อมต่อกันระหว่าง LAN (Local Area Network) ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเข้าหากันได้ เช่น LAN ของสำนักงานใหญ่รองรับการติดต่อจาก LAN ที่อยู่ที่สาขาพร้อม ๆ กัน หลายสาขา หรืออาจจะนำมาต่อผ่านอุปกรณ์ Video Conference ความเร็วสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เช่นกัน
หมาเหตุ: สำหรับช่องสัญญาณ D ที่มีอยู่ในทั้งบริการ BAI และ PRI เป็นช่องสัญญาณที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการโดยส่งสัญญาณ Signalling ติดต่อกับชุมสาย และควบคุมการใช้งานของช่องสัญญาณ B ปัจจุบันผู้ใช้บริการ ISDN ไม่สามารถใช้งานช่องสัญญาณ D นี้ได้

เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ (X.25 Packet Switched Network)

เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ (X.25 Packet Switched Network)

เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครือข่าย X.25 เป็นเครือข่ายสาธารณะประเภท WAN(Wide Area Network) สำหรับการส่งข้อมูลดิจิตอลทางไกล มีความสามารถในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลได้เครือข่าย X.25 เป็นเครือข่ายการส่งข้อมูลดิจิตอลสาธารณะที่ได้รับความนิยมมาก หลักในการส่งข้อมูลจะใช้หลักการเดียวกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์
ข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการจะส่งให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ไกลออกไป จะถูกแบ่งออกเป็นบล็อกข้อมูลขนาดเล็กเรียกว่า แพ็กเกจ แต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยส่วนหัวซึ่งจะบอกข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลรวมทั้งตำแหน่งของปลายทางของข้อมูล เครือข่ายจะทำการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสด้วยโปรโตคอลควบคุมการจัดการข้อมูล และเส้นทางของข้อมูลซึ่งเป็นโปรโตคอลแบบซิงโครนัส เช่น SDLC หรือ HDLC เป็นต้นข้อมูลจะถูกส่งผ่านเครือข่ายด้วยความเร็วสูง และสามารถไปถึงปลายทางได้ในเวลาไม่ถึง 1 วินาที แต่ละโหนดที่ข้อมูลถูกส่งผ่านเข้าไปจะเป็น Store – and – Forward เพื่อกักเก็บข้อมูลไว้ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดทำให้โหนดปลายทางสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาถูกต้องเป็นลำดับเช่นเดียวกับที่ออกมาจากต้น
ทาง
การติดต่อสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย X.25 จะถูกกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน CCITT RecommendationX.25 เพื่อให้บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกันในการส่ง – รับข้อมูลผ่านเครือข่ายทำให้เครือข่าย X.25 ได้รับความนิยมแพร่หลาย


องค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่าย X.25 แพ็กเกจสวิตช์ ได้แก่



  1. สถานีแพ็กเกจสวิตช์หรือโหนด เพื่อเก็บกักและส่งต่อข้อมูล รวมทั้งตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล

  2. อุปกรณ์แยกหรือรวมแพ็กเกจ (X.25 PAD) เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นแพ็กเกจ หรือรวมแพกเกจข้อมูลรวมทั้งทำหน้าที่เป็นคอนเวอร์เตอร์ (Converter) คือ จัดการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลของข้อมูลที่ต่างชนิดกันให้เป็นโปรโตคอลชนิดเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

  3. ศูนย์กลางควบคุมแพกเกจ (NCC) หรือ Network Packet Control Center เป็นศูนย์กลางซึ่งทหน้าที่ควบคุมการทำงานของแพ็กเกจสวิตช์ของเครือข่าย ซึ่งได้แก่บริษัทผู้ให้บริการการสื่อสารข้อมูลชนิดนี้

  4. แพ็กเกจคอนเซนเตรเตอร์ ทำหน้าที่เป็นมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์สัญญาณของแพ็กเกจข้อมูลที่มาจากแหล่งต้นทางให้ผ่านรวมกันไปในสายเดียวกันรวมทั้งยังสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล และจัดการแปลงโปรโตคอลของข้อมูลให้เป็นแบบเดียวกันได้อีกด้วย

  5. โปรโตคอล X.25 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่าย X.25 การทำงานของโปรโตคอล X.25 จะทำการติดต่อสื่อสารอยู่ใน 3 เลเยอร์ล่างสุดของสถาปัตยกรรมรูปแบบOSI การติดต่อสื่อสารเหนือเลเยอร์ชั้น Network จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมซอฟต์แวร์การสื่อสารระหว่าง Application – to – Application หรือ User to Application

โปรโตคอลเครือข่าย X.25 จะใช้การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสชนิด HDLC (High-Level Data LinkControl) ในเฟรมของ HDLC จะใช้ CRC-16 (Cyclic Redundan Check) เป็นเทคนิคในการตรวจสอบ และแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล ส่วนหัวและส่วนท้ายของเฟรมจะบ่งบอกข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลรวมทั้งเส้นทางการส่ง
ข้อมูลผ่านเครือข่ายด้วย เฟรมส่งข้อมูล HDLC ของเครือข่าย X.25เครือข่าย X.25 นอกจากจะใช้มาตรฐาน CCITT X.25 กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่าย X.25 แล้ว ยังมีมาตรฐานอื่นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย X.25 อีก เช่น CCITT X.3 , CCITT X.28 และ CCITT X.29