วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

Windows Server2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System[แก้] ภาพรวมวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
  • Windows Small Business Server 2003
  • Windows Server 2003 Web Edition
  • Windows Server 2003 Standard Edition
  • Windows Server 2003 Enterprise Edition
  • Windows Server 2003 Datacenter Edition
  • Windows Compute Cluster Server 2003

Linux Version Properties

Red Hat Linux(http://www.redhat.com/)บริษัท เรดแฮ็ท เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มโปรแกรมเมอร์ ในแถบนอร์ธ-แคโลไลนาในสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างดิสตริบิวชั่นของ Linux ที่มีการติดตั้งและการใช้งานให้ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แนวคิดพื้นฐานของเรดแฮ็ทคือเรื่องของ แพ็กเกจ (package) ซึ่งเป็นชุดของโปรแกรม ที่สามารถทำการติดตั้งเพิ่มเข้าและถอดออกได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ หรือไม่ต้องทราบรายละเอียดแต่อย่างใด (โดยปกติแล้วการติดตั้งซอฟต์แวร์ในระบบ UNIX และ Linux จะต้องขยายไฟล์ที่ถูกบีบอัดไว้ออกมาก่อน แล้วคอมไพล์ตัวโปรแกรม Linux ใหม่พร้อมกับโปรแกรมเหล่านั้น จึงจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์นั้น เพิ่มลงไปในระบบได้)ดังนั้น Red Hat จึงได้พัฒนาโปรแกรม RPM (RPM Package Manager) ขึ้นมาสำหรับติดตั้ง ถอดถอน และบริหารชุดของแพ็กเกจดังกล่าว โดยไม่ต้องเสียเวลาคอมไพล์ใหม่ (ซึ่ง RPM ในเวอร์ชันแรกๆจะพัฒนาด้วยภาษา Perl แต่ในเวอร์ชันต่อๆมาจะพัฒนาด้วยภาษา C ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น) และนอกจาก RPM แล้วทางบริษัท Red Hat ก็ยังได้พัฒนาโปรแกรมติดตั้งที่เรียกว่า GLINT (Graphical Linux INstallation Tool) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากRed Hat Linux เวอร์ชันแรกได้ออกจำหน่ายเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1994 และด้วยคุณสมบัติเด่นของ RPM จึงส่งผลให้ Red Hat Linux ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นดิสตริบิวชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในเชิงธุรกิจ ขณะที่ RPM ก็ได้รับการยอมรับ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารแพ็กเกจบนระบบ UNIX อื่นๆนอกเหนือจาก Linux ด้วย Suse(http://www.suse.com/)SuSE เป็นลีนุกซ์สัญชาติเยอรมัน ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในเยอรมันและยุโรปการติดตั้ง SuSE นั้น มีโปรแกรมที่จัดการการติดตั้งชื่อ YaST2 ซึ่งทำให้การติดตั้งได้ง่ายมากภาษาในการติดตั้งยังไม่มีภาษาไทยDebian (http://www.debian.org/)โครงการ Debian นั้นเริ่มเมื่อปี 1993 โดยนายเอียน เมอร์ดอค คำว่า Debian ก็มาจากชื่อของเค้า เอียน ( -ian ) กับชื่อแฟนของเค้า เด็บบาร่า (deb-) เอามารวมกันก็เป็น Debian นี่ถือได้ว่าเป็นลินุกซ์สำหรับแฮคเกอร์โดยแท้จริง Debian มีจุดแข็งอยู่ตรงระบบการลงโปรแกรมที่เรียกได้ว่าดีมากๆ เรียกว่า APT ที่ใช้งานได้ง่ายกว่า RPM ของเรดแฮทมาก และจะสะดวกมากขึ้นอีกถ้าเรามีเน็ตแรงๆ อยู่ด้วย เนื่องจากว่า APT จะทำการอัพเดทโปรแกรมให้เราอัตโนมัติ เช่น ต้องการลง Mozilla แค่สั่ง apt-get mozilla แล้วก็รออย่างเดียว Mozilla ก็จะพร้อมใช้งานทันที แต่ว่าส่วนอื่นๆ ของ Debian ยังไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้หน้าใหม่เช่นกัน เลยมีบริษัทหัวใสจำนวนมาก ได้นำ Debian ดั้งเดิมมาดัดแปลงให้เหมาะกับผู้ใช้หน้าใหม่มากขึ้น แล้วนำมาขาย เช่น Xandros และ Lindows Mandrake Linux ติดขอบเทคโนโลยีMandrake Linux ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ Mandriva Linux เป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่มีบุคลิกที่สุดสำอาง เริ่มพัฒนามาพร้อมๆ กับ Red Hat Linux แต่มีแนวทางเป็นของตนเอง และไม่คิดตามหลังใคร มิหนำซ้ำยังหาญกล้านำเทคโนโลยีใหม่ๆ มารวมไว้ก่อนดิสโทรอื่นเสมอๆ จนทำให้มีหมายเลขเวอร์ชั่นหนีห่างจาก Red Hat ชนิดไม่เห็นฝุ่น ความที่เน้น Cutting-Edge Technology เช่นนี้มากจนเกินไป จนลืมให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการจึงทำให้ขาดทุนและเกือบต้องเลิกกิจการไป หลังจากได้รับการบริจาคเงินช่วยเหลือและต่อมารวมกิจการกับ Connectiva Linux จนเป็น Mandriva Linux แล้ว ลีนุกซ์ดิสโทรนี้ก็ยังคงมีลักษณะที่เน้นการนำเสนอเทคโนโลยีล้ำหน้าคู่แข่งเสมอมา ถ้าคุณชอบความล้ำสมัย มีสีสรร และรูปลักษณ์สวยหมดจด Mandriva Linux นี่แหละ..ใช่เลย

Ubuntu

อูบุนตู (Ubuntu)(สัท.: ùbúntú หรือ uːˈbunːtuː [3]) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 8.10 รหัส Intrepid Ibex นั้น มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้ความสามารถสำคัญนักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วยUbuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS Xรองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit และชนิด 64bitรูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดี ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริงทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่าจัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น Kubuntu Shipit, Xubuntu Shipit และ Edubuntu Shipit ด้วยส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบLinux TLE ซึ่งเป็น Linux พัฒนาโดยคนไทยตั้งแต่ version 8.0 ก็ใช้ Ubuntu เป็นฐานในการพัฒนา[แก้] ประวัติและลำดับการพัฒนาภาพซีดี อูบุนตู 8.04 ที่แจกฟรี สำหรับผู้ต้องการUbuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntuส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆUbuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้วปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลงในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี[แก้] ผู้สนับสนุนเดลล์ ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 บริษัทDell ได้ประกาศว่าจะขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน็ตบุ๊คที่ได้ติดตั้ง Ubuntu ไปด้วย และในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในสหรัฐ. พวกเขาได้เริ่มให้บริการลูกค้าในการใช้งาน Ubuntu ผ่านทางบริษัทDell, ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท Canonical ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งเป็นไปด้วยดี ถ้าเลือกใช้เครื่อง DELL ในขณะนี้ก็จะมี ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 7.10 กับ โปรแกรมLinDVD ไว้ดูหนังดีวีดีTesco ในเดือนตุลาคม บริษัทTesco ได้ตามมาแนวเดียวกับบริษัทDell โดยเริ่มขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการUbuntu 6.06 LTS แต่ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับ Dell ที่ไม่ได้ให้บริษัทCanonical เป็นคนสนับสนุนช่วยเหลือSystem76 ตั้งแต่เริ่มแรกมาในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 โดย System76 เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนันสนุนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ,โน้ตบุ๊ก และ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย[แก้] การนำเอาซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์มาใช้Ubuntu มีการรับรองระบบเพื่ออยู่ในสมาคม third party software Ubuntuได้รับรองการเป็นเจ้าของซอฟแวร์ที่ทำงานได้ใน Ubuntu อย่างไรก็ตามหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้คุ้นเคยของระบบปฏิบัติการที่ไม่ฟรี เช่น Microsoft Windows นั้นเข้ากันไม่ได้และไม่ได้ถูกรับรองจาก Ubuntu แต่ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์บางตัวนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการแจกจ่ายก็ได้มีการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เช่นกัน ซอฟแวร์บางตัวที่ไม่ได้รวมอยู่ด้วยใน Ubuntu :ซอฟแวร์ที่เปิดการทำงาน region-locked และวิดีโอ DVDs, ทั้งสองน่าจะได้รับอนุญาตให้ใช้งาน จึงใช้ libraryถอดรหัส DVD ของ Libdvdcss ซึ่งเป็น open-source ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับ Ubuntu และ Medibuntu.ปลั๊กอินของเว็บเบราว์เซอร์บางตัวก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเช่น Adobe's (formerly Macromedia's) Shockwave (ที่ไม่ใช่เวอร์ชันของLinux) และ Flash[แก้] ระบบที่ต้องการในที่สุดเวอร์ชันที่ผ่านของ Ubuntu นั้นสนับสนุนสถาปัตยกรรม Intel x86 และ AMD64 ของเครื่องเดสท็อปที่มีออกมา และ สถาปัตยกรรม Intel x86, AMD64 และ SPARC ของเครื่องแม่ข่าย แต่ก็ยังไม่สนับสนุนสถาปัตยกรรมของ PowerPC (ในเวอร์ชัน7.04 นั้นก็ยังพอที่จะสนับสนุนสถาปัตยกรรมPowerPC ) , IA-64 (Itanium) และ เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 3 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบที่แนะนำก็ยังพอมี Xubuntu,ที่มีพื้นฐานมาจาก Xfce,ที่ต้องการ หน่วยความจำหลัก และพื้นที่ว่างเพียงครึ่งเดียวที่แนะนำ[แก้] Server Editionเครื่องที่เก่ามากๆก็เป็นไปได้ที่จะลงระบบปฏิบัติการนี้ได้ (เช่น 75 MHz Pentium หน่วยความ จำหลัก 32 MB) , ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:ไมโครโปรเซสเซอร์ 300 MHz สถาปัตยกรรมx86หน่วยความจำหลัก 64 MBพื้นที่ Harddisk 500 MBการ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixelไดร์ฟ CD-ROM[แก้] Desktop Editionสำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:ไมโครโปรเซสเซอร์ 500 MHz สถาปัตยกรรมx86หน่วยความจำหลัก 192 MBพื้นที่ Harddisk 8 GB (ในการติดตั้งจริงต้องการ 4 GB )การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 1024×768 pixelการ์ดประมวลผลทางเสียง (ถ้ามี)การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก

Vmware คืออะไร ?

VMWare เป็นโปรแกรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ขึ้นบนระบบปฏิบัติการเดิมที่มีอยู่ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฏิบัติการ Windows XP อยู่เดิม แล้วทำการลงระบบปฏิบัติการ Windows NT ผ่านโปรแกรม VMWare อีกทีหนึ่ง ซึ่งเมื่อลงแล้ว ทั้งสองระบบสามารถทำงานพร้อมกันได้โดยแยกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด (เสมือนเป็นคนละเครื่อง) โดยคอมพิวเตอร์เสมือนที่สร้างขึ้นมานั้น จะมีสภาพแวดล้อมเหมือนกับคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องหนึ่ง ซึ่งจะประกอบด้วย พื้นที่ดิสก์ที่ใช้ร่วมกับพื้นที่ดิสก์ของเครื่องนั้นๆ การ์ดแสดงผล การ์ดเน็ตเวิร์ก พื้นที่หน่วยความจำซึ่งจะแบ่งการทำงานมาจากหน่วยความจำของเครื่องนั้นๆ เช่นกัน ปัจจุบันโปรแกรม VMWare มีเวอร์ชันทั้งสำหรับการทำงานบน Windows และ LinuxVmware มีประโยชน์อย่างไร ?เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ เสมือนเรามีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอีกได้หลายเครื่อง ทำให้เราสามารถจะติดตั้ง OS ได้หลายตัว โดยไม่ต้องแบ่งพาร์ติชั่นของ HD มันจะเอาเนื้อที่ของ HD มาจำลองเป็นเครื่องคอมเพิ่มให้ โดยเราสามารถกำหนดขนาดได้ ทำทุกอย่างได้เสมือนจริงทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ restart เครื่อง จนถึงการติดตั้ง software

Vmware หน้าตาเป็นอย่างไร ?
มี Website ไหนอธิบายถึง Vmware ?

ความเป็นมาของระบบปฏิบัติการ UNIX

ความเป็นมาของระบบปฏิบัติการ UNIX
ย้อนหลังไปในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีในโลกอาจกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เนื่องจากระบบปฏิบัติการของเครื่องอนุญาตให้ผู้ใช้ใช้งานเครื่องได้เพียงครั้งละคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้ที่มีความประสงค์จะใช้เครื่องต้องทำการจองเวลาใช้เครื่องไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาที่จองไว้ผู้ใช้นั้นจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นแต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาที่จองไว้ ผู้ใช้อื่นไม่สามารถใช้งานเครื่องอีกได้ และโดยทั่วไปในระหว่างการใช้งาน ผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานหน่วยประมวลผลกลางเต็มกำลัง เพราะอาจต้องหยุดคิดแก้ปัญหา หรือป้อนข้อมูลเข้าเครื่องซึ่งใช้ความสามารถของเครื่องน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่าผู้ใช้งานนั้นไม่ได้ใช้เครื่องจนเต็มขีดความสามารถตลอดเวลา เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นมีราคาแพงจึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างระบบปฏิบัติการที่ผู้ใช้สามารถใช้งานเครื่องได้เต็มกำลังตลอดเวลาโดยการให้ผู้ใช้แต่ละคนเตรียมงานไว้ล่วงหน้าโดยใช้บัตรเจาะรู เมื่อมีปริมาณของงานมากถึงระดับหนึ่งจึงจะเดินเครื่องและทำการอ่านงานเหล่านั้นเข้าไปประมวลผลต่อเนื่องกันไป ระบบปฏิบัติการเช่นนี้เรียกว่าระบบการประมวลผลแบบ batch ระบบนี้ช่วยให้ใช้งานเครื่องได้โดยมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ดีสำหรับผู้เขียนโปรแกรมแล้วระบบเช่นนี้ยังมีการตอบสนองไม่ดีนัก กล่าวคือเมื่อผู้เขียนโปรแกรมนำโปรแกรมต้นฉบับซึ่งอยู่ในรูปของบัตรเจาะรูไปส่งที่ห้องเครื่อง แล้วต้องรอเป็นระยะหนึ่งกว่าจะทราบผลการดำเนินการ ภายใต้ภาวะการณ์เช่นนี้การตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรม (debugging) จึงเป็นกระบวนการที่กินเวลามาก หากผู้เขียนโปรแกรมลืมใส่เครื่องหมายวรรคตอนเพียงตัวเดียวผู้เขียนโปรแกรมต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าทราบความผิดพลาดนั้นและทำการแก้ไข ทำให้การพัฒนางานล่าช้า ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมโดยทั่วไปจึงต้องการระบบปฏิบัติการที่มีการตอบสนองเร็วเพื่อให้สามารถตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมได้ดียิ่งขึ้นจากความต้องการดังกล่าวนี้เองจึงมีการคิดระบบปฏิบัติการแบบ timesharing ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้หลายคนสามารถใช้เครื่องในเวลาเดียวกันได้ โดยอาศัยการแบ่งเวลาของหน่วยประมวลผลกลางให้แก่ผู้ใช้เวียนกันไป ระบบ timesharing ที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นที่ Dartmouth College และที่ Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.) โดยระบบของ Dartmouth College เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สนับสนุนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา BASIC เพียงอย่างเดียวและประสบความสำเร็จในการใช้งานทางธุรกิจในระยะหนึ่ง ส่วนระบบปฏิบัติการของ M.I.T. มีชื่อเรียกว่าระบบ CTSS เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการเอนกประสงค์ และประสบความสำเร็จสูงกว่าโดยเฉพาะในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ หลังจากระบบ CTSS ประสบความสำเร็จแล้วไม่นาน M.I.T., Bell Labs และบริษัท General Electric ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ได้ร่วมกลุ่มกัน เพื่อทำการวิจัยและออกแบบระบบปฏิบัติการแบบ timesharing ใหม่ให้มีความสามารถมากขึ้น และกำหนดชื่อระบบปฏิบัติใหม่เป็น MULTICS (MULTiplexed Information and Computing Service)ระบบปฏิบัติการ MULTICS ไม่ทำงานตามที่คณะผู้ทำงานหวังไว้ เนื่องจากระบบได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับผู้ใช้ได้หลายร้อยคนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางซึ่งมีความสามารถสูงกว่า หน่วยประมวลผลกลางแบบ 80286 ในปัจจุบันเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดีแนวความคิดดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในยุคนั้นเนื่องจากเป็นระยะเริ่มต้นของการใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมขนาดเล็ก สาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลวของโครงการนี้มีมากมายเช่นในการออกแบบระบบกำหนดให้มีการใช้ภาษาระดับสูงคือภาษา PL/I ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและมีการพัฒนาล่าช้ากว่ากำหนดการที่กำหนดไว้มากและมีข้อบกพร่องมากมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการนำความคิดที่ล้ำสมัยหลายอย่างมาใช้ในขณะที่เทคโนโลยียังไม่พร้อม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับการพัฒนางานของ Charles Babbage ในสมัยศตวรรษที่ 19เมื่อสิ้นระยะแรกของโครงการ ห้องปฏิบัติการ Bell ถอนตัวออกจากโครงการ ทำให้นักวิจัยคนหนึ่งในโครงการนี้คือ Ken Thompson ซึ่งว่างงานอยู่เริ่มหาแนวทางในการทำวิจัยต่อไป ในที่สุดตัดสินใจที่จะทำการเขียนระบบปฏิบัติการ MULTICS แบบย่อส่วนขึ้นโดยใช้ภาษา Assembly โดยใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์รุ่น PDP-7 ซึ่งว่างอยู่ในขณะนั้น ระบบปฏิบัติการของ Thompson สามารถทำงานได้เป็นอย่างดี ระบบปฏิบัติการนี้นักวิจัยอีกคนหนึ่งของห้องปฏิบัติการ Bell คือ Brian Kernighan ตั้งชื่อให้ว่า UNICS หรือ Uniplexed Information and Computing Service เพื่อเป็นการล้อเลียนโครงการ MULTICS และต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น UNIX