วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เราเตอร์

เราเตอร์
เราเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลง Package ของเครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้สะดวกรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ภายในเครือข่าย เดียวกัน หรือต่างเครือข่ายกัน การติดต่อข้ามเครือข่ายกัน หรือรวมหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเรียกว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetwork) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกันตามมาตรฐานไอเอสโอเรียกว่า IWU (Inter Working Unit) และอุปกรณ์ IWU ดังกล่าวนี้มี 2 แบบคือเราเตอร์ และบริดจ์

การทำงานของอุปกรณ์เราเตอร์ขณะที่มีการส่ง-รับข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ภายในเครือข่ายเดียวกันจะกระทำกันอยู่ในเลเยอร์ชั้นกายภาพ (Physical Layer) หรือในสายสื่อสาร แต่ในการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายกัน ตำแหน่งของแพ็กเกตข้อมูลจะมีการแปลงรหัสกันในเลเยอร์ชั้นที่ 3 คือชั้นเครือข่าย (Network Layer) ของเครือข่ายนั้น เพื่อจัดเส้นทาง (Router) ของข้อมูลส่งไปยังปลายทางได้ถูกต้องและอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเส้นทาง หรือเราเตอร์นี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์ชั้นเครือข่ายของ เครือข่ายนั้นสามารถทำการเชื่อมต่อเครือข่ายได้มากกว่า 2 เครือข่ายทั้งที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือ ต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน
เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์ โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดในระบบเครือข่ายระยะใกล้ ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของแพ็กเกตที่แตกต่างออกไป เพื่อนำข้อมูลผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้เราเตอร์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้หลายแบบเข้าด้วยกันและสามารถส่งผ่านเครือข่ายเขตเมือง (WAN) ได้ด้วย และเนื่องจากการที่เราเตอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นโหนดหนึ่งในเครือข่ายระยะใกล้นี้ยังทำให้สามารถทำงานอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วยเราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเกตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการจากโปรแกรม เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทางที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ตและส่งต่อออกช่องทางของพอร์ตเครือข่ายที่เป็นแบบจุดต่อจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่เพื่อส่งไปยังเครือข่ายเขตเมืองได้ ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์ เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุดเลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเกตหรือเรียกว่า สวิทช์แพ็กเกตข้อมูล (Data Switched Packet) โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพในด้านความเร็วและความแม่ยำสูงสุด อุปกรณ์สวิทช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิทช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดีโอ ได้ดี

คำถามท้ายเรื่อง

หน้าที่ของ เราเตอร์ คือ
1. ควบคุมเครือข่าย
2. ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน
3. ส่งข้อมูล
4. ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์
ตอบ (2) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่าย เก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำงานของอุปกรณ์เราเตอร์ขณะที่มีการส่ง-รับข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ภายในเครือข่ายเดียวกันจะกระทำ

กันอยู่ในเลเยอร์ชั้นใด
1. ควบคุมเครือข่าย
2. นำส่งข้อมูล
3. เชื่อมต่อข้อมูล
4. กายภาพ
ตอบ (4) การทำงานของอุปกรณ์เราเตอร์ขณะที่มีการส่ง-รับข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ภายในเครือข่ายเดียวกันจะกระทำกันอยู่ในเลเยอร์ชั้นกายภาพ (Physical Layer)

ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านข้อมูลในระบบเครือข่าย โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอย่างน้อย 2 ระบบ
2. เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งดูแล้วคล้ายกับเป็นสะพานเชื่อมสองฟากฝั่งเข้าด้วยกัน
3. เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ (1) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านข้อมูลในระบบเครือข่าย โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอย่างน้อย 2 ระบบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างระบบของ LANs หรือ WANs จำนวน 2 วงขึ้นไป กับระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP-Internet Service Provider)

Cisco Router คือ
1. ตัวส่งข้อมูล
2. ควบคุมการทำงานของเราเตอร์
3. เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่แปลง Package ของเครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้
4. การปิดกั้นเครือข่าย หรือแยกเครือข่ายออกจากเครือข่ายที่ไม่ต้องการจะติดต่อด้วย
ตอบ (2) ควบคุมการทำงานของ Router คล้ายกับระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องพีซีทั่วไป โดยระบบปฏิบัติการของ Router เราเรียกว่า Cisco IOS

ข้อใดไม่ใช่ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS
1. Privileged Exec Mode
2. Interface Configuration
3.
Boot Mode
4. Disconnect
ตอบ (4) Disconnect

mrinfo คือ
1. แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router
2. ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
3. ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้าน
4. เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
ตอบ (3) ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้าน

mtrace คือ
1. แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router
2. ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
3. ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้าน
4. เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
ตอบ (2) ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง

mstat คือ
1.
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router
2. ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
3. ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้าน
4. เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
ตอบ (1) แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router

name-connection คือ
1. แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router
2. ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
3. ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้าน
4. เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
ตอบ (4) เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่

ข้อใดคือ key คำสั่งเลื่อน Cursor ถอยหลังกลับ
1. Ctrl-B
2. Ctrl-F
3. Ctrl-E
4. Ctrl-K
ตอบ (1) Ctrl-B เลื่อน Cursor ถอยหลังกลับมา 1 ตัวอักษร

ข้อใดไม่เข้าพวก
1. Ctrl-F
2. Ctrl-E
3. Ctrl-K
4. Esc-F
ตอบ (3) Ctrl-K เป็นคำสั่งลบตัวอักษร นอกนั้นเป็นคำสั่ง Cursor ไปข้างหน้า

คำสั่งใดคือการเรียกคำสั่งที่ใช้มาแล้วออกมาดู
1. Ctrl-B
2. Ctrl-P
3. Ctrl-E
4. Ctrl-K
ตอบ (2) Ctrl-P เรียกคำสั่งที่ใช้มาแล้วออกมาดู

คำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware เช่น Version ของ Software ที่ใช้ใน Router ชื่อของ Configuration File อันเป็นต้นฉบับ รวมทั้ง Boot Images คือ
1. show ip route
2. show Protocols
3. show Processes
4. show Version
ตอบ (4) show Version

คำสังที่ใช้แสดง Protocol ใน Router ที่ได้รับการจัด Configured เรียบร้อยแล้วโดยคำสั่งนี้ จะทำการแสดง Protocol ที่ทำงานในระดับชั้น Layer 3(Network Layer) ของ OSI Model
1. show ip route
2. show Protocols
3. show Processes
4. show Version
ตอบ (2) show Processes

คำสั่งที่ใช้เพื่อการแสดงค่าพารามิเตอร์ของ Configuration ต่างๆที่กำลังทำงานกันอยู่ในขณะนี้ คือ
1. show running-config
2. show startup-config
3. show interfaces
4. show Memory
ตอบ (1) show running-config

คำสั่งที่ใช้เพื่อการแสดง File ที่ใช้ backup ค่า Configuration ต่างๆ
1. show running-config
2. show startup-config
3. show interfaces
4. show Memory
ตอบ (2) show startup-config

คำสั่งที่ใช้เพื่อการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยความจำในตัว Router รวมทั้งปริมาณของหน่วยความจำที่เหลือจากการใช้งาน คือ
1. show running-config
2. show startup-config
3. show interfaces
4. show Memory
ตอบ (4) show Memory

ข้อใดไม่ใช่คำสั่ง show interfaces
1. จำนวนของแพ็กเก็ตที่ได้รับมาทั้งหมด
2. ค่าไอพีแอดเดรสของอินเทอร์เฟส
3. แสดง MAC Address ของ LAN Card
4. แสดงข้อมูลตารางเลือกเส้นทาง
ตอบ (4) แสดงข้อมูลตารางเลือกเส้นทาง

การสร้าง access-list ขึ้นใหม่แต่ละครั้งควรจะเริ่มต้นด้วยคำสั่งอะไร
1. no access-list nnn
2. access-list nnn
3. ip access-group nnn
4. ไม่มีข้อถูก
ตอบ (1) การสร้าง access-list ขึ้นใหม่แต่ละครั้งควรจะเริ่มต้นด้วยคำสั่ง no access-list nnn ก่อนเสมอ เพื่อกำจัดค่าเดิมใดๆ ที่อาจมีการใช้งาน access-list ที่ nnn ให้หมด

Checklist ความปลอดภัยต่อไปนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่ออะไร
1. การโจมตีเครือข่ายจากภายนอกจำนวนมากใช้วิธีการส่ง ICMP redirect
2. สกัดกั้นแพ็กเก็ตชนิด loopback (มาจากเครือข่าย 127.0.0.0) เนื่องจากแพ็กเก็ตเหล่านี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง
3. เป็นเครื่องช่วยในการตรวจสอบความปลอดภัยในการกำหนดค่าการทำงานให้กับ router และช่วยทบทวนถึงรายละเอียดความปลอดภัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
4. ไม่ควรให้แพ็กเก็ตที่มาจากภายนอก (จากเครือข่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ) ซึ่งอาจจะเป็นแพ็กเก็ตที่มีการปลอมแปลงหรือส่งมาเพื่อโจมตีเครือข่าย
ตอบ (3) เป็นเครื่องช่วยในการตรวจสอบความปลอดภัยในการกำหนดค่าการทำงานให้กับ router และช่วยทบทวนถึงรายละเอียดความปลอดภัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น: